...

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ

1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
             ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ            และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ            บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ               1.1   ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)                เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบันการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
               1.2  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)                  เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย     วิทยาลัย    และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย  ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา  ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป เช่น    สำนักหอสมุด  สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร  ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา   (ประภาวดี  สืบสนธิ์.  2543 : 150)
               1.3  ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)                         เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดกฎหมาย  ห้องสมุดธนาคาร  ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ                1.4  ห้องสมุดประชาชน  (Public Library)                  เป็นห้องสมุดชุมชน  ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้  ทุกเพศทุกวัย  และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
              1.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)                มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น
2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center) 
                        เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง   เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา  ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป   สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center  (TIAC) 
3.  ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
                      เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
 ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ 
4.  หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)                      
                          เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
 5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
                      ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล  และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ  เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
                        ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ   หมายถึง  หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ    ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป     หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย  และห้องสมุดยูเนสโก
 
 7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
                       เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์
 8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
                      หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์ แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม
 9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
                 
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services) สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network)  
 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
                         เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม  

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ


              งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า"งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
           การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้
                    สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น                    สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ  
                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  สถาบันบริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
                    สรุปได้ว่า  สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม